วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Jang Ok Jung : 11 Aug 2013

Jang Ok Jung : 11 Aug 2013

ในขณะที่เราเห็น "ผลลัพท์" เหมือนๆกัน
แต่รู้มั้ย..ว่า อาจจะมีเหตุผล ที่มาที่ไป ต่างกันก็ได้..


Jang Ok Jong และ Dong Yi
เป็นละครอิงประวัติศาสตร์ที่มาจากโครงเรื่องเดียวกัน

ในประวัติศาตร์เกาหลี บันทึกไว้ว่า..

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระเจ้าซุกจง (เกาหลี: 숙종, ฮันจา: 肅宗, MC: Sukjong, MR: Sukchong ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1720) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์โชซ็อน (ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1720)
พระเจ้าซุกจงประสูติเมื่อ ค.ศ. 1661 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าฮย็อนจง กับพระมเหสีมยองซอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทเมื่อ ค.ศ. 1667 ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1674 พระนางอินซอน พระมเหสีของพระเจ้าฮโยจง สิ้นพระชนม์ จึงเกิดข้อถกเถียงกันเรื่องการใส่พระภูษาไว้ทุกข์ของพระนางจางรยอล พระมเหสีของพระเจ้าอินโจ ขึ้นอีกครั้ง เรียกว่า ความขัดแย้งเรื่องพิธีปีคาบิน (갑인예송, 甲寅禮訟) พระเจ้าฮย็อนจงทรงเลือกที่จะทำตามข้อเสนอของขุนนางฝ่ายใต้ นำโดยฮอมก (허목, 許穆) ซึ่งเสนอให้นางจางรยอลไว้ทุกข์แบบแทกง (대공, 大功 9 เดือน พระภูษาหยาบ) ทำให้ฝ่ายใต้ขึ้นมามีอำนาจแทนฝ่ายตะวันตก ซึ่งมีอำนาจอยู่ก่อนหน้า[1]
ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าฮย็อนจงสวรรคต พระเจ้าซุกจงจึงทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ รัชกาลของพระเจ้าซุกจงเป็นสมัยที่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆของขุนนางดุเดือดที่สุด เรียกได้ว่าไม่มีเลยสักวันเดียวในรัชสมัยของพระองค์ที่จะปราศจากการทุ่มเถียงระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก ขณะที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ ฝ่ายตะวันตกก็ถูกกีดกันออกจากราชการกันเป็นส่วนใหญ่ แต่แล้วเมื่อ ค.ศ. 1680 ปรากฏมีขุนนางฝ่ายใต้คิดก่อการกบฏยกให้องค์ชายพงซอน (복선군, 福善君) ขึ้นเป็นกษัตริย์แทนพระเจ้าซุกจง ทำให้ฝ่ายใต้ถูกกวาดล้างหลังจากอยู่ในอำนาจได้เพียงเจ็ดปีและฝ่ายตะวันตกก็เข้ามามีอำนาจแทน เมื่อปีเดียวกันนั้น พระมเหสีของพระเจ้าซุกจงสิ้นพระชนม์ ฝ่ายตะวันตกจึงส่งบุตรสาวจากตระกูลมินแห่งยอฮึงเข้าไปเป็นพระมเหสีองค์ใหม่ ภายหลังได้รับพระนามพระมเหสีอินฮย็อน (인현왕후, 仁顯王后) ในค.ศ. 1683 ซงชียอลเกิดความขัดแย้งกับลูกศิษย์ของตนเอง คือ ยุนจึง (윤증, 尹拯) ทำให้ฝ่ายตะวันตกแตกออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักปราชญ์อาวุโส เรียกว่า โนนน (노론, 老論) ของซงชียอล และกลุ่มนักปราชญ์อายุน้อย เรียกว่า โซนน (소론, 少論) ของยุนจึง
แต่ต่อมาพระเจ้าซุกจงกลับไปโปรดปรานจางซังกุง ซึ่งมาจากตระกูลต่ำเดิมเป็นนางรับใช้ของพระนางจางรยอล และเป็นตัวแทนของขุนนางฝ่ายใต้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งขึ้นป็นพระสนมจาง ในค.ศ. 1688 ก็มีพระโอรสให้กับพระเจ้าซุกจง ซึ่งพระเจ้าซุกจงหมายจะแต่งตั้งให้เป็นองค์ชายรัชทายาท (ภายหลังเป็น พระเจ้าคย็องจง) สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก ฝ่ายตะวันตกพยายามจะคัดค้านขณะที่ฝ่ายใต้ก็สนับสนุนให้แต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท พระเจ้าซุกจงทรงแต่งตั้งพระสนมจางเป็นพระสนมฮีบิน (희빈, 禧嬪) ในค.ศ. 1689 ซึ่งเป็นตำแหน่งพระสนมสูงสุด ซงชียอลได้ทูลคัดค้านขอให้พระเจ้าซุกจงทรงล้มเลิกการแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาทลงและให้เป็นองค์ชายธรรมดา ขุนนางฝ่ายใต้จึงยุยงให้พระเจ้าซุกจงทรงประหารชีวิตซงชียอล เนรเทศกำจัดขุนนางฝ่ายตะวันตกออกไปจากราชสำนัก รวมทั้งปลดพระมเหสีอินฮย็อนขับไปนอกวัง และตั้งพระสนมฮีบินขึ้นเป็นพระมเหสีแทน เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคีซา (기사환국, 己巳換局) เหตุการณ์นี้ทำให้ฝ่ายใต้กลับเข้ามามีอำนาจอย่างเต็มทีและฝ่ายตะวันตกถูกกำจัดออกไป องค์ชายรัชทายาทได้รับการแต่งตั้งต่อมาในค.ศ. 1690
แต่ต่อมาพระเจ้าซุกจงกลับทรงรู้สึกผิด ในค.ศ. 1694 ขุนนางฝ่ายตะวันตกถวายฎีกาขอให้พระเจ้าซุกจงทรงดูแลอดีตพระมเหสีอินฮย็อนให้ดีขึ้น พระเจ้าซุกจงจึงให้อดีตพระมเหสีอินฮย็อนกลับเข้ามาอยู่ในพระราชวังชางด็อกแล้วก็ทรงเปลี่ยนพระทัยคืนตำแหน่งให้กับพระมเหสีอินฮย็อน และให้พระมเหสีจางอ๊กซานกลับไปเป็นพระสนมฮีบินตามเดิมและไปอยู่ที่พระราชวังชางคย็อง เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคัปซุล (갑술환국, 甲戌換局) และมีพระราชดำริห้ามให้พระสนมมาเป็นมเหสี ขุนนางฝ่ายใต้ถูกกวาดล้างอีกครั้งต่างถูกเนรเทศไปตามที่ต่างๆ โดยที่ฝ่ายตะวันตกกลับขึ้นมามีอำนาจแทน แต่แล้วเมื่อค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮย็อนก็สิ้นพระชนม์ และก็พบว่าพระสนมฮีบินทรงใช้นางร่างทรงเพื่อทำการสาปแช่งพระมเหสีอินฮย็อน พระสนมฮีบินจึงถูกสำเร็จโทษไป
นับแต่นั้นมาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตกจึงจบลง ปลายรัชสมัยของพระเจ้าซุกจงนั้นค่อนข้างสงบสุข แต่พร้อมที่จะปะทุในเวลาอันใกล้เพราะขุนนางฝ่ายโนนนและโซนนกำลังจะเผชิญหน้ากัน ด้วยเรื่องการสืบราชสมบัติ ฝ่ายโซนนสนับสนุนองค์ชายรัชทายาท ขณะที่ฝ่ายโนนนยังคงยืนกรานความคิดเห็นของฝ่ายตะวันตกในทีแรกว่า ไม่ควรตั้งพระโอรสที่เกิดแต่พระสนมฮีบินเป็นรัชทายาท จึงหันไปสนับสนุนองค์ชายยอนอิง (연잉군, 延礽君 ซึ่งเป็นพระโอรสกับพระสนมซุกบินแห่งตระกูลแช ภายหลังเป็น พระเจ้ายองโจ) ซึ่งพระสนมซุกบินเป็นที่โปรดปรานทั้งพระเจ้าซุกจงและพระมเหสีอินฮย็อน ทำให้พระสนมซุกบินเป็นที่รักใคร่ของคนทั้งวัง
เมื่อค.ศ. 1718 พระเจ้าซุกจงทรงตั้งองค์ชายรัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระเจ้าซุกจงสวรรคตเมื่อค.ศ. 1720

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เกาหลีเค้าก็กล้าทำละครเรื่องเดียวกัน
ให้ออกมาแตกต่างกันนะ
คนเขียนบท Dong Yi ในทงอี เป็นนางเอก เป็นฝ่ายดี 
แล้วให้จางอ๊คจองเป็นฝ่ายร้าย

ในขณะที่คนเขียนบท Jang Ok Jong
ให้อ๊คจองเป็นนางเอก
แล้วบอกเหตุผลว่าทำไมอ๊คจองต้องร้าย
บางครั้งก็ร้ายโดยที่ไม่ตั้งใจ
และบางครั้งก็โดนเข้าใจผิดคิดว่าร้าย
ส่วนทงอี กลายเป็นร้ายยิ่งกว่าอ๊คจองอีก

ดูจบแล้ว รู้สึกสงสารตัวละครหลายตัวนะ

โดยเฉพาะ พระเจ้าซุกจง
แม้จะเป็นฝ่าบาทปกครองโชซอน
คนที่มีอำนาจสูงสุด
อำนาจที่หลายคนอยากแย่งชิงมาครอบครอง 

- คนที่มีกลับไม่อยากมี แต่คนไม่มีก็ไขว่คว้าที่จะมี -

ซุกจง มองว่า มันไม่มีความสุขหรอก 
กับการเป็นฝ่าบาทที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไว้ใจใครไม่ได้
จะมีเมีย ก็ต้องมีฝ่ายทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง


ครั้งนึง ซุกจง บ่นว่า
จะแก้ปัญหา จะหาทางออกอย่างไรดี
ในเมื่อ อำนาจการเมืองฝ่ายตะวันตก ก็ทุจริตโกงกิน
ส่วนฝ่ายใต้ก็ทำงานไม่เป็น ไม่เอาไหน

เฮ้ย!!! นี่มันคุ้นๆๆๆๆ นะ ....  :)


เรื่องนี้ ถ้าให้คะแนน ก็เอาไป สองดาว 
ดูได้เรื่อยๆ 
ติดใจแต่ ยูอาอิน ของเราเนี่ยแหละ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น